Veidan Stream Business ทำอย่างไรเมื่อวีซ่าทำงานหมดอายุ กรณีต่างด้าวทำงานในไทย

ทำอย่างไรเมื่อวีซ่าทำงานหมดอายุ กรณีต่างด้าวทำงานในไทย




ด้วยสถานการณ์ที่ยากลำบากและการใช้ชีวิตที่วุ่นวายอาจทำให้ใครหลายคนลืมสิ่งสำคัญไปแล้วมานึกได้อีกทีก็จวบจนจะหมดเวลาไปแล้ว โดยเฉพาะวีซ่าทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับคนที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย หรือแม้กระทั่งคนที่เดินทางจากประเทศไทยไปทำงานต่างประเทศ ดังนั้นในวันนี้เราจึงมีแนวทางในการแก้ไขเบื้องต้นสำหรับคนที่พบว่าวีซ่าหมดอายุแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไปมาแนะนำ 

วิธีแก้ไขเมื่อพบว่าวีซ่าทำงานหมดอายุ 

หากคนต่างด้าวพบว่าวีซ่าทำงานหมดอายุ สามารถดำเนินการตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ 

  • ท่านต้องเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อขอยื่นวีซ่าทำงานใหม่จากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศเท่านั้น 
  • เมื่อวีซ่าหมดอายุชาวต่างชาติที่อยู่เกินกำหนดระยะเวลาพำนัก ต้องเสียค่าปรับวันละ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 200 บาท และต้องออกนอกประเทศทันที 

นอกจากนั้น ในกรณีที่พบว่าวีซ่าทำงานกำลังใกล้จะหมดอายุ เช่น อาจอยู่ในช่วง 1 – 90 วัน สามารถดำเนินการต่อวีซ่าทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยมีสถานที่ยื่นคำขอ ดังนี้ 

  • กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะอาคาร B ชั้น 2 กรณีสถานที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ 
  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตามจังหวัดที่ทำงานตั้งอยู่ กรณีสถานที่ทำงานอยู่ต่างจังหวัด 

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการต่อวีซ่าทำงานมีอะไรบ้าง 

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องต่อวีซ่าทำงานกรณีต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ ลาว พม่า และกัมพูชาที่ทำงานในเขตกรุงเทพฯ ต้องเตรียมเอกสารตามประเภทของสถานประกอบการ ดังนี้ 

1. วีซ่าทำงานกรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล 

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับต่างด้าว 

  • หนังสือเดินทาง 
  • แบบคำขอตม. 7 
  • สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออกตม. 6 สำเนาทุกหน้าที่มีข้อมูลหรือตราประทับ 
  • สำเนาใบอนุญาตทำงาน ปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ 
  • สำเนาทร. 38/1 พร้อมรับรองสำเนา 
  • สำเนาใบรับรองแพทย์ พร้อมรับรองสำเนา 
  • แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของคนงานต่างด้าว 

เอกสารสำหรับนายจ้างต่อวีซ่าทำงาน 

  • หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงาน นายจ้างเป็นผู้ลงนามเท่านั้น 
  • สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนของนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน 
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง พร้อมรับรองสำเนา 
  • สำเนาใบโควตา ปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมรับรองสำเนาหนังสือมอบอำนาจ กรณีนายจ้างมาไม่ได้ โดยใช้ตามแบบของสตม. และติดอากรแสตมป์ 10 บาท สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ 

2. ต่อวีซ่าทำงานกรณีนายจ้างเป็นบุคคลธรรมดา 

เอกสารที่ต้องเตรียม มีดังนี้ 

  • หนังสือเดินทาง 
  • แบบคำขอตม. 7 
  • สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออกตม. 6 สำเนาทุกหน้าที่มีข้อมูลหรือตราประทับสำเนาใบอนุญาตทำงาน ปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ 
  • สำเนาทร. 38/1 พร้อมรับรองสำเนา 
  • สำเนาใบรับรองแพทย์ พร้อมรับรองสำเนา 
  • แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของคนงานต่างด้าว 

ส่วนเอกสารของนายจ้างต่อวีซ่าทำงาน มีดังนี้ 

  • หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงาน นายจ้างเป็นผู้ลงนามเท่านั้น 
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง พร้อมสำเนารับรอง 
  • สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง พร้อมสำเนารับรอง 
  • สำเนาใบโควตา ปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมสำเนารับรอง 
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีนายจ้างมาไม่ได้ โดยใช้ตามแบบของสตม. และติดอากรแสตมป์ 10 บาท 

อย่างไรก็ตามการยื่นขอต่อวีซ่าทำงานนั้นเป็นสิ่งที่ทั้งนายจ้างและคนต่างด้าว จำเป็นต้องให้ความสำคัญ หากพบว่าตนเองยังมีความต้องการอยากทำงานกับสถานประกอบการเดิมอยู่ และหากไม่ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด อาจนำมาซึ่งปัญหาตามมามากมาย ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรรีบดำเนินการก่อนวีซ่าทำงานหมดอายุภายในระยะเวลา 90 วัน 

Related Post

วางแผนเกษียณเร็ว

7 ข้อที่คุณควรรู้ หากอยากวางแผนเกษียณเร็ว7 ข้อที่คุณควรรู้ หากอยากวางแผนเกษียณเร็ว



คงไม่มีใครในโลกนี้ที่อยากจะใช้เวลาหมดทั้งชีวิตไปกับการทำงานหาเงินจนสิ้นอายุขัย ทุกคนต่างก็ต้องการเวลาพักผ่อนอย่างมีความสุข

สวัสดิการ CP ALL

สวัสดิการ CP ALL ครอบคลุมอะไรบ้าง ดีต่อพนักงานอย่างไรสวัสดิการ CP ALL ครอบคลุมอะไรบ้าง ดีต่อพนักงานอย่างไร



นอกเหนือไปจากเงินเดือนที่พนักงานจะได้รับแล้ว อีกหนึ่งองค์ประกอบหรือปัจจัยที่คุณจะต้องศึกษาทำความรู้จัก ก่อนที่จะสมัครงานกับบริษัทแห่งใดก็ตาม ก็คือ “สวัสดิการ” เพราะว่าสวัสดิการเองก็มีความสำคัญไม่แพ้เงินเดือนเลย เพราะว่าสวัสดิการจะเข้ามาเป็นอีกหนึ่งแรงซับพอร์ตในการใช้ชีวิตของคุณให้มีคุณภาพมากขึ้น